วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าเกษตรอินทรีย์ ส่งออก

สินค้าเกษตรอินทรีย์


อิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง
จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร (net food importer) และพลังงาน ปัจจุบันอิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรมเป็นสำคัญ มาเป็นแบบมีอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

ภาพรวมตลาด
สินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศอิตาลี
สินค้าเกษตรอินทรีย์หรือที่รู้จักกันว่า สินค้า Organic เป็นสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจุบันมีการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังขึ้น ทำให้ผู้บริโภคใส่ใจกับสภาพ แวดล้อมที่มีผลโดยตรงต่อห่วงโซ่อาหาร และผลผลิตที่มีผลต่อสุขภาพ จึงเลือกบริโภคอาหารปลอดสารพิษมากขึ้น รวมถึงความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์แท้จริงของการบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์  ทั้งนี้ แนวโน้มอัตราการเติบโตของ Sector ดังกล่าว ยังสวนกระแสกับภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคอิตาเลียนเพียง 1 ใน 4  เท่านั้น ที่รู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อย่างถูกต้อง เนื่องจากกฎเกณฑ์ของกรรมวิธีและขั้นตอนในการผลิต และหลักเกณฑ์ที่ใช้ จำแนก/ตรวจสอบสินค้าฯ ยังไม่ชัดเจนนักในสินค้าหลายรายการและค่อนข้างยากต่อการทำความเข้าใจของผู้บริโภคทั่วไป
            ปัจจุบันตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในยุโรป เป็นตลาดที่กำลังเติบโต และเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากมีการเพาะปลูกที่รักษาสิ่งแวดล้อม และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ให้คุณค่าทางอาหารสูงกว่าสินค้าที่เพาะปลูกตามปกติ และปลอดภัยต่อการบริโภค เพราะไม่มีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมาสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในยุโรป โดยมีจำนวน Organic Farm ถึง 5.8 ล้านเฮคเตอร์ หรือร้อยละ 4 ของพื้นที่เกษตรกรรมของยุโรป และมีมูลค่าการค้าปลีกรวมกว่า 10 ล้านยูโร  โดยมีประเทศที่มีพื้นที่การเพาะปลูก Organic Farm มากที่สุด คือ อิตาลี( ปี 2007 ประมาณ 1.15 ล้านเฮกเตอร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ร้อยละ 0.18) 
           
สินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic) ในอิตาลี

            ได้แก่ ผัก/ผลไม้สด ธัญพืช ไข่ นมสด โยเกิต เครื่องดื่มสุขภาพ อาหารเด็กอ่อน น้ำมันโอลีฟ พาสต้า น้ำผึ้ง บิสกิต มะเขือเทศ สินค้าอาหารแปรรูป และสินค้าอื่นๆ ที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตเป็น Organic เช่น สบู่ ครีม ฯลฯ สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญของอิตาลีได้แก่ ผัก/ผลไม้สดและอาหาร(Proceed Food)
            ผลผลิตผักผลไม้สดประเภท Organic ของอิตาลีมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งตลาดภายใน ประเทศและส่งออก  แต่อย่างไรก็ ตามตลาดก็ยังคงจำกัดอยู่ในชนกลุ่มน้อย ตั้งแต่ปี 1998  อิตาลีนับว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกผักผลไม้ Organic แหล่งใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป  รวมทั้งมีจำนวน Organic Farm ที่มากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมาการขยายตัวของสินค้าเกษตรอินทรีย์มีสูงขึ้นโดยตลอด มีพื้นที่ไร่ที่ได้รับการรับรองถึงกว่า 1 ล้านเฮคเตอร์ และมีจำนวนฟาร์มกว่า 50,200 ฟาร์มในปัจจุบัน มียอดจำหน่ายประมาณ 1.6 พันล้านยูโร แบ่งเป็น ผู้ผลิตร้อยละ 85.8 ผู้แปรรูปร้อยละ 9.5 ผู้ผลิตและผู้แปรรูปร้อยละ 4.1 ผู้นำเข้าร้อยละ 0.091 และร้อยละ 0.33 เป็นทั้งผู้นำเข้า/ผู้ผลิต/และผู้แปรรูป และกิจกรรมทางธุรกิจอื่นๆ อีกร้อยละ 0.12 ทั้งนี้ การขยายตัวเริ่มมากตั้งแต่ปี 1992 ซึ่งเป็นปีที่อิตาลีเริ่มออกกฏหมาย EC Reg.2092/91 เกี่ยวกับการออกใบรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ และกฎหมาย EC Reg 2078/92 เกี่ยวกับการให้การสนับสนุนฟาร์มที่มีการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง Organic Farm  จากกฎหมายฉบับนี้ทำให้การขยายตัวของ Organic Farm ในอิตาลีเพิ่มมากขึ้น
             
การบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในอิตาลี
            เป็นการยากที่จะระบุตัวเลขแน่ชัดของการค้าผักผลไม้ Organic เนื่องจากตัวเลขจะปนกันไปกับสินค้าประเภท Convention แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการประมาณการตัวเลขการขายปลีกของ Organic Food ในอิตาลีไว้กว่า 1.2 ล้านยูโรต่อปี โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 17 ในปี 2008 จากการสังเกต พบว่าในช่วง 5 ปีหลังที่ผ่านมา(2003-2008)มีอัตราการเติบโตกว่าร้อยละ 90  อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นตลาดเล็กแต่ก็มีแนวโน้มตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่องสวนกระแสเศรษฐกิจในปัจจุบัน Organic Food ขายได้ดีทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศที่คนมีรายได้ดี เพราะเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญของอิตาลี ความต้องการส่วนใหญ่จะเป็นผักผลไม้มากกว่าสินค้า Organic Food อื่นๆ

ประเทศอิตาลี
การบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ 2008
% 2008/2007
ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
44.1%
+6.8%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
27.2%
-0.8%
ภาคกลางและแคว้น Sardegna
19.7%
+8.5%
ภาคใต้
9%
+12.3%

ที่มา Ismea / Nielsen
            จากการสำรวจของ ISMEA(Istituto di Servizi per il Mercato Agricolo Alimentare : www.ismea.it) และ NIELSEN(บริษัทวิจัยตลาด : http://it.nielsen.com/company/index.shtml) พบว่า Domestic consumption ปี 2008 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 สินค้าที่มีอัตราการเติบโตสูงได้แก่ ผลไม้สดและแปรรูป(+20%) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอ่อน(+16%) อาหารจำพวกขนมปัง/พาสต้า/ข้าว/ไข่(+14%) และเครื่องดื่มสุขภาพ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อาหารเช้า (กาแฟ ชา บิสกิต ของหวาน ฯลฯ) นั้นลดลง -14%


%  2008/2007
% สัดส่วน
นมสดและ dairy products
1.5 %
19.8 %
ผลไม้สดและแปรรูป
19.8 %
19.5 %
ผลิตภัณฑ์อาหารเช้า
-13.8 %
14.1 %
เครื่องดื่ม
2.7 %
10.0 %
ขนมปัง พาสต้า ข้าว
14.3 %
7.7 %
ไข่
14.1 %
7.7 %
ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กอ่อน
16.1 %
5.7 %
น้ำมัน
7.1 %
4.8 %
น้ำผึ้ง
7.5 %
3.7 %
อาหารแช่แข็ง
10.0 %
2.4 %
อื่นๆ
1.9v
4.6 %
สินค้าเกษตรอินทรีย์รวม
5.4 %
100.0 %

จากตารางการใช้จ่ายของครอบครัวอิตาเลียนในการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์พบว่า 5 อันดับแรก ได้แก่ นมสดและ dairy products  ผลไม้สดและแปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหารเช้า และเครื่องดื่มสุขภาพ นั้น มีสัดส่วนการบริโภคแล้วกว่าร้อยละ 60
สินค้าผลไม้ Organic ได้แก่  พรุน Citrus(ส้มและมะนาว) แอปเปิ้ล กล้วย พีช และ ผลไม้นำเข้าต่างๆ ได้แก่ กีวี สตรอเบอรี่ อโวคาโด มะม่วง  มะละกอ สับปะรด ผลไม้เมืองร้อน และอื่นๆ เช่น ลูกนัท, Saltanas และเมล็ดธัญพืช

ประเภทผลไม้
   %  2008/2007
สัดส่วนการบริโภค
แอปเปิ้ล
10.5%
13.8%
กล้วย
8.2%
8.8%
ส้ม
-7.1%
8.2%
ลูกแพร์
3.4%
6.8%
ลูกพีช
6.9%
6.5%
องุ่น
-1.1%
5.5%
เลมอน
21.0%
5.0%
ลูกพรุน
33.4%
3.8%
เมลอน
-7.0%
3.5%
ส้มไร้เมล็ด
-1.5%
3.4%

อัตราการบริโภคผลไม้ Organic มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ทั้งนี้ ประเภทผลไม้ที่เป็นที่นิยมและมีปริมาณการบริโภครวมร้อยละ 65.2 ได้แก่ แอปเปิ้ล กล้วย  ส้ม ลูกแพร์ ลูกพีช  องุ่น  เลมอน  ลูกพรุน เมลอน และ ส้มไร้เมล็ด
            ส่วนผักที่นิยมได้แก่  มะเขือเทศ แตง(Courgette) อติโชก ผักกาดแก้ว มันฝรั่ง ถั่ว พริกหยวก มะเขือม่วง สลัดผักอื่นๆ ได้แก่ แครอท ดอกกระหล่ำ หัวหอม กระเทียม เป็นต้น ทั้งนี้ ประเภทผักข้างต้นมียอดรวมการบริโภคถึงร้อยละ 60

ประเภทผัก
%  2008/2007
สัดส่วนการบริโภค
มะเขือเทศ
-6.7%
13.2%
แตง(Courgette)
-1.3%
7.7%
อติโชก
50.7%
5.7%
ผักกาดแก้ว
1.1%
5.4%
มันฝรั่ง
0.6%
5.3%
ถั่ว(Beans)
2.8%
5.2%
พริกหยวก
-2.6%
4.5%
มะเขือม่วง
6.2%
4.4%
สลัดผักอื่นๆ
-3.8%
4.1%
Fennel
7.7%
3.8%

            โดยข้อเท็จจริงผู้บริโภคในอิตาลีใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อ Organic Food น้อยกว่าร้อยละ 1 ของ การใช้จ่ายของครัวเรือน จากการสำรวจของ ISMEA-Nielsen CRA พบว่า Organic Food ที่นิยม ได้แก่  ไข่ นมสด โยเกิต เครื่องดื่มที่ทำจากถั่วเหลืองและน้ำผลไม้ น้ำมันโอลีฟ Cereals  ผักผลไม้สด  Dairy Products อื่นๆ และเนื้อสัตว์ ปัญหาหนึ่งของสินค้า Organic Food ที่ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ก็คือการขาดข่าวสารเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าว และคนอิตาลีหลายคนยังเข้าใจว่า อิตาลีเป็นประเทศเดียวที่ผลิตสินค้า Organic ดังนั้นจึง ไม่แน่ใจในสินค้านำเข้า ประกอบกับผู้บริโภคหลายรายไม่ยินดีที่จะจ่ายเงินสูงเพื่อซื้อสินค้าดังกล่าว
การส่งออก - นำเข้า
            อิตาลีส่งออก ผักผลไม้ Organic เป็นหลัก ส่วนใหญ่ได้แก่ Citrus (ตระกูลส้ม และมะนาว)   โดยส่งออกไปยังตลาดในยุโรป โดยเฉพาะยุโรปเหนือ  เยอรมัน และสวิสเซอร์แลนด์
            อิตาลีนำเข้าผักผลไม้ Organic กว่า 20,000 ตันคิดเป็นมูลค่าประมาณ 17.5 ล้านยูโร
ประมาณร้อยละ 55 เป็นกล้วย
                
แนวโน้มและโอกาสทางการค้า
            ความต้องการผักผลไม้ Organic มีอัตราการเติบโตสูงมากและอย่างต่อเนื่อง ในบางปีมีความต้องการมากกว่าที่ผลิตได้ในประเทศเช่น หัวหอม, แครอท, มันฝรั่ง, พริกไทย, แตงกวา, มะเขือม่วง, ผักใบเขียว ( Lettuce), กีวี, แอปเปิ้ล, แพร์, เมล่อน สำหรับผลไม้ Tropical Fruit มีความต้องการที่เพิ่มขึ้นเช่น สับปะรด, มะม่วง, อโวคาโด และ มะพร้าว รวมทั้งผลไม้แห้ง เช่นลูกนัท และ ลูกเกด อย่างไรก็ตามประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนี่ยน เช่น ตุรกี, อียิปต์, ตูนีเซีย และ Libya เป็นประเทศที่สามารถผลิต Tropical Organic Fruit ได้จึงถือว่าเป็นคู่แข่งที่สำคัญในยุโรป ซึ่งได้เปรียบด้านราคาค่าขนส่งและระยะทาง นอกจากนั้นสินค้าจำพวกเครื่องดื่มสุขภาพ น้ำผึ้ง อาหารแปรรูปจำพวกแป้ง(พาสต้า ข้าวไทย  ฯลฯ) ที่ไทยมีศักยภาพในการผลิต ยังได้รับความนิยมสูงและมีแนวโน้มความต้องมากในตลาดอิตาลี

 การขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในและต่างประเทศ (Market Expansion)
สร้างความตระหนักและความเข้าใจในการหันมาบริโภคมากขึ้น (Awareness)
สนับสนุนข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึกทั้งในและต่างประเทศ (Market Intelligence)
จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Promotion)
ส่งเสริมการตลาดสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยน*
ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น
พัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ๆ (Marketing Channel)
แหล่งข้อมูล